วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3



วันอังคาร ที่ 24 มกราคม พ.ศ.2560



            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก

                                             สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


ความหมายและความสำคัญของสื่อ  สื่อ หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ หรือทักษะที่ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายได้ดีที่ดุด

ความสำคัญของสื่อ 
        -เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
        -เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วยความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็น “การเรียน”
        -เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และได้เรียนรู้ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จดจำได้นาน 
        -สื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดสื่อจะช่วยทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมที่เด็กเข้าใจยาก มาสู่รูปธรรมที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น สื่อจะช่วยให้เรียนได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน รวดเร็วและจำได้แม่นยำ
การเลือกสื่อ
            -เพลง
            -เครื่องดนตรีเครื่องดนตรีที่ใช้มือเล่นทั้งสองข้าง
            -หนังสือ

ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อมต่าง
ดร.ชัยวงศ์  พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.  สื่อการสอนประเภทวัสดุ
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
✿สื่อการสอนประเภทวัสดุ  หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์  สไสด์ เป็นต้น
✿สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หมายถึง  สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียงกับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน และกระดานหก
✿สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ครูจัดทำขึ้นแต่มุ่งให้นักเรียนเข้ามีส่วนในการปฏิบัติ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การจัดสถานการณ์จำลอง และการจัดศูนย์การเรียน เป็นต้น

ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
-เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ  
เด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ นับจากเริ่มจ้องมองสิ่งของ เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายไขว่คว้า ฝึกคืบคลาน กระทั่งตั้งไข่เกาะยืนและพยายามจะหัดเดินด้วยตนเองและหัดใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของชิ้นเล็กๆ
-วัยหนึ่งขวบถึงสองขวบ 
วัยนี้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เด็กจะไม่หยุดนิ่งแต่จะปีนโน่นป่ายนี่อยู่ไม่หยุดและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นซุกซน เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยเหลือใกล้ชิดโดยเฉพาะคอยระวังเรื่องอุบัติเหตุต่างๆ
-วัยสองขวบถึงสามขวบ ช่วงนี้เด็กจะเริ่มสนใจที่จะเล่นกับเด็กอื่นๆและสามารถเล่นด้วยกันได้นาน ขณะเดียวกันเด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักโลกกว้างขวางขึ้น เด็กต้องการค้นพบสิ่งใหม่เป็นวัยของความเป็นตัวเอง
-วัยสามขวบถึงสี่ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มมองโลกกว้างมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การได้ทำกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เด็กมองเห็นความสามารถของตนเองว่าเหมือนผู้ใหญ่จะทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในตนเอง
-วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น กำลังฝึกการพูดเป็นประโยคยาว ๆ เด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง
-วัยห้าขวบถึงหกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่างๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่ชอบเล่นตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ชอบเล่นใช้กำลัง

การเล่นของเด็กปฐมวัย
1. ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
                 การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะด้านร่างกายและสังคม มีความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเพื่อให้เด็กได้รู้จักกฎ กติกาของการเล่น สอนให้เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุขฝึกฝนการใช้ภาษา การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริง
2.คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น
-สอดคล้องกับหลักสูตร แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม
-เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกัน เพื่อพัฒนาด้านสังคม
-เหมาะสมกับวัยและความสามารถและความสนใจของเด็ก
3.ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
-บล็อก
-เครื่องเล่นสัมผัส
-เกมการศึกษา
-ชุดฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
-หนังสือภาพนิทาน
-หุ่นต่าง ๆ
-ศิลปะสร้างสรรค์
-ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-เพลงและดนตรี
-เล่นบทบาทสมมติหรือเลียนแบบชีวิตจริง
4.ประโยชน์ของการเล่น
             การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์เพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบานสนุกสนาน ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็กเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
5.วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยได้ดังนี้
-จัดหาสถานที่อุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมแก่วัยของเด็ก
-ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิดและจินตนาการ
-กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก
-กล่าวคำชม
-ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็กเมื่อพบว่าเด็กสนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษควรส่งเสริมความสนใจนั้น ๆ

ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ความคิดริเริ่ม (Originality)
2.ความคิดคล่องตัว (Fluency)
3.ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility)
4.ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

     1.ความคิดริเริ่ม (Originality)
        -ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา หรือความคิดง่าย ๆความคิดริเริ่ม
        -พฤติกรรมด้านความคิดริเริ่มสำหรับเด็กปฐมวัย
                  ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดริเริ่ม สรุปจากการศึกษาค้นคว้าก็พบว่าคนที่มีความคิดริเริ่มมักไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซาก แต่จะชอบปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้งานของเขามีชีวิตชีวา และมีความแปลกใหม่กว่าเดิม
     2.ความคิดคล่องตัว (Fluency)ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น
        2.1ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
        2.2ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency)
        2.3ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
        2.4ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency)
     3.ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility)
        3.1ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
        3.2ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility)
     4.ความคิดละเอียดละออ (Elaboration)
        1.พัฒนาการของความละเอียดละออจะขึ้นอยู่กับอายุ กล่าวคือ เด็กที่มีอายุมากจะมีความสามารถด้านนี้มากกว่าเด็กอายุน้อย
        2.เด็กหญิงจะมีความสามารถมากกว่าเด็กชายในด้านความละเอียดละออ
        3.เด็กที่มีความสามารถสูงทางด้านความละเอียดละออ จะเป็นเด็กที่มีความสามารถทางด้านการสังเกตสูงด้วย
     5.คุณครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
        5.1 ลักษณะโดยทั่วไป
        5.2 หลักสูตรและวิธีสอน
        5.3 วิธีการสอนของครูแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย

ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์
1.หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์
   1.1 ประโยชน์
   1.2 ประหยัด
   1.3 ประสิทธิภาพ
2. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์
3. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน

การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
         เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม โดยผ่านการเล่นด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 
ครูผู้สอนเด็กปฐมวัยต้องมีใจรักเด็กอย่างจริงใจ อย่าเสแสร้ง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และ
จินตนาการเป็นของตนเอง เล่นร่วมกับเพื่อนทุกคนได้อย่างมีความสุข

สรุป
         -การใช้สื่อสร้างสรรค์ หมายถึง สื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี
         -การสอนสำหรับเด็ก ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก



























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น