วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3



วันอังคาร ที่ 24 มกราคม พ.ศ.2560



            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก

                                             สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


ความหมายและความสำคัญของสื่อ  สื่อ หมายถึง  สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ หรือทักษะที่ตนมีไปสู่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายได้ดีที่ดุด

ความสำคัญของสื่อ 
        -เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
        -เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วยความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็น “การเรียน”
        -เป็นเครื่องมือทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม และได้เรียนรู้ได้รับประสบการณ์ตรงทำให้จดจำได้นาน 
        -สื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดสื่อจะช่วยทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมที่เด็กเข้าใจยาก มาสู่รูปธรรมที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น สื่อจะช่วยให้เรียนได้อย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน รวดเร็วและจำได้แม่นยำ
การเลือกสื่อ
            -เพลง
            -เครื่องดนตรีเครื่องดนตรีที่ใช้มือเล่นทั้งสองข้าง
            -หนังสือ

ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย
แหล่งเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็น 2 ลักษณะ
1. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายในห้องเรียน
2. สื่อและแหล่งเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน สภาพแวดล้อมต่าง
ดร.ชัยวงศ์  พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.  สื่อการสอนประเภทวัสดุ
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
✿สื่อการสอนประเภทวัสดุ  หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์  สไสด์ เป็นต้น
✿สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หมายถึง  สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียงกับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน และกระดานหก
✿สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ครูจัดทำขึ้นแต่มุ่งให้นักเรียนเข้ามีส่วนในการปฏิบัติ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การจัดสถานการณ์จำลอง และการจัดศูนย์การเรียน เป็นต้น

ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย
-เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ  
เด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ นับจากเริ่มจ้องมองสิ่งของ เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายไขว่คว้า ฝึกคืบคลาน กระทั่งตั้งไข่เกาะยืนและพยายามจะหัดเดินด้วยตนเองและหัดใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของชิ้นเล็กๆ
-วัยหนึ่งขวบถึงสองขวบ 
วัยนี้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เด็กจะไม่หยุดนิ่งแต่จะปีนโน่นป่ายนี่อยู่ไม่หยุดและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็นซุกซน เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยเหลือใกล้ชิดโดยเฉพาะคอยระวังเรื่องอุบัติเหตุต่างๆ
-วัยสองขวบถึงสามขวบ ช่วงนี้เด็กจะเริ่มสนใจที่จะเล่นกับเด็กอื่นๆและสามารถเล่นด้วยกันได้นาน ขณะเดียวกันเด็กวัยนี้เป็นวัยที่รู้จักโลกกว้างขวางขึ้น เด็กต้องการค้นพบสิ่งใหม่เป็นวัยของความเป็นตัวเอง
-วัยสามขวบถึงสี่ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มมองโลกกว้างมากขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การได้ทำกิจกรรมต่างๆ จะทำให้เด็กมองเห็นความสามารถของตนเองว่าเหมือนผู้ใหญ่จะทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในตนเอง
-วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น กำลังฝึกการพูดเป็นประโยคยาว ๆ เด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง
-วัยห้าขวบถึงหกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่างๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่ชอบเล่นตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ชอบเล่นใช้กำลัง

การเล่นของเด็กปฐมวัย
1. ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
                 การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะด้านร่างกายและสังคม มีความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเพื่อให้เด็กได้รู้จักกฎ กติกาของการเล่น สอนให้เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุขฝึกฝนการใช้ภาษา การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริง
2.คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น
-สอดคล้องกับหลักสูตร แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม
-เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกัน เพื่อพัฒนาด้านสังคม
-เหมาะสมกับวัยและความสามารถและความสนใจของเด็ก
3.ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
-บล็อก
-เครื่องเล่นสัมผัส
-เกมการศึกษา
-ชุดฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
-หนังสือภาพนิทาน
-หุ่นต่าง ๆ
-ศิลปะสร้างสรรค์
-ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-เพลงและดนตรี
-เล่นบทบาทสมมติหรือเลียนแบบชีวิตจริง
4.ประโยชน์ของการเล่น
             การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์เพิ่มทักษะการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบานสนุกสนาน ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็กเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง  กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
5.วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยได้ดังนี้
-จัดหาสถานที่อุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมแก่วัยของเด็ก
-ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิดและจินตนาการ
-กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก
-กล่าวคำชม
-ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็กเมื่อพบว่าเด็กสนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษควรส่งเสริมความสนใจนั้น ๆ

ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ความคิดริเริ่ม (Originality)
2.ความคิดคล่องตัว (Fluency)
3.ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility)
4.ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

     1.ความคิดริเริ่ม (Originality)
        -ลักษณะความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดธรรมดา หรือความคิดง่าย ๆความคิดริเริ่ม
        -พฤติกรรมด้านความคิดริเริ่มสำหรับเด็กปฐมวัย
                  ลักษณะของบุคคลที่มีความคิดริเริ่ม สรุปจากการศึกษาค้นคว้าก็พบว่าคนที่มีความคิดริเริ่มมักไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซาก แต่จะชอบปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้งานของเขามีชีวิตชีวา และมีความแปลกใหม่กว่าเดิม
     2.ความคิดคล่องตัว (Fluency)ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น
        2.1ความคิดคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ (Word Fluency)
        2.2ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency)
        2.3ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expressional Fluency)
        2.4ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency)
     3.ความคิดยืดหยุ่นหรือความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility)
        3.1ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility)
        3.2ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility)
     4.ความคิดละเอียดละออ (Elaboration)
        1.พัฒนาการของความละเอียดละออจะขึ้นอยู่กับอายุ กล่าวคือ เด็กที่มีอายุมากจะมีความสามารถด้านนี้มากกว่าเด็กอายุน้อย
        2.เด็กหญิงจะมีความสามารถมากกว่าเด็กชายในด้านความละเอียดละออ
        3.เด็กที่มีความสามารถสูงทางด้านความละเอียดละออ จะเป็นเด็กที่มีความสามารถทางด้านการสังเกตสูงด้วย
     5.คุณครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
        5.1 ลักษณะโดยทั่วไป
        5.2 หลักสูตรและวิธีสอน
        5.3 วิธีการสอนของครูแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัย

ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์
1.หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์
   1.1 ประโยชน์
   1.2 ประหยัด
   1.3 ประสิทธิภาพ
2. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์
3. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน

การเรียนรู้ระดับปฐมวัย
         เด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากรูปธรรมไปหานามธรรม โดยผ่านการเล่นด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 
ครูผู้สอนเด็กปฐมวัยต้องมีใจรักเด็กอย่างจริงใจ อย่าเสแสร้ง จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และ
จินตนาการเป็นของตนเอง เล่นร่วมกับเพื่อนทุกคนได้อย่างมีความสุข

สรุป
         -การใช้สื่อสร้างสรรค์ หมายถึง สื่อการสอนที่ดีที่สามารถถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ ทัศนคติ แนวคิด และทักษะในการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมาย การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี
         -การสอนสำหรับเด็ก ต้องให้เหมาะสมกับลักษณะและความสามารถหรือพัฒนาการด้าน ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจของเด็กปฐมวัยอีกทั้งยังต้องเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก



























วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


วันอังคาร ที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560


                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั่นลายน่ารัก

         วันนี้ได้เรียนในเรื่องของธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เด็กในช่วงวัยนี้จะเป็นช่วงที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งก็คือ พ่อแม่จะให้ความสนใจและให้สำคัญเป็นอย่างมากเพราะถือว่าช่วงวัยนี้เป็นช่วงที่สำคัญต่อการเรียนรู้


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
1. ลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
2. มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน
3. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4. เป็นวัยที่ชอบอิสระ
5. ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับ
6. ชอบเล่น

7. มีช่วงความสนใจสั้น

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
          ลักษณะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ คนใกล้ชิด ญาติผู้ใหญ่ หรือจากหนังสือ การสังเกตจากตัวแบบ การเลียนแบบ การบอกเล่าให้ฟังจะทำให้เด็กสร้างภาพขึ้นในสมองของตนแทนการเห็นของจริง

การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก
ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
ลักษณะที่ 2 เป็นการเรียนรู้จากการช่วยเหลือจากพ่อแม่
ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมอย่างมีระบบ

รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา เป็นการเรียนรู้ที่เด็กสามารถเปรียบเทียบด้วยสายตา ด้วยการมองเห็น ความต่าง ความเหมือน สี ขนาด รูปร่าง และเป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานประสานสัมพันธ์ของสายตาและกล้ามเนื้อมือ
2. การเรียนรู้โดยการได้ยิน ได้ฟัง จากการได้ยินได้ฟังเสียงจากที่ต่างๆ หรือจากบุคคล เด็กจะสามารถรู้ที่มาของเสียง สามารถแยกความเหมือนความต่างของเสียงได้
3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ของกล้ามเนื้อ

กระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
     การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในช่วงชีวิตของแต่ละคน และช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี พัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กสามารถพัฒนาได้สูงสุด เป็นโอกาสทองของการเรียนรู้ของมนุษย์ และเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังไวต่อสิ่งกระตุ้น (Sensitive)
          เมื่อเด็กอายุมากขึ้นเด็กจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วยโดยเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 3 - 6 ปีจะมีวิธีเรียนรู้ที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่ากลุ่มอายุ2 - 3 ปี สังเกตได้จากการสัมผัสสิ่งต่างๆแล้ว เด็กใช้การคิด การจินตนาการ การค้นคว้าและลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาสิ่งที่ตนอยากเห็นอยากรู้

✤ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
-มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
-ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
-จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
-เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
-จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้ (ภาพหรือส่องกระจก)
-บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
-เริ่มชอบเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
-มีช่วงความสนใจระยะสั้น ๆ เริ่มเรียนรู้และเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่ชี้แนะ/บอก
-เริ่มเข้าใจส่วนย่อย ๆ และส่วนรวมของสิ่งที่นำมารวมกัน
2. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
-สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
-สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
-วาดภาพอย่างมีความหมายและบอกชื่อภาพได้
-ชอบซักถามว่า ทำไม
-บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
3.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
-สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส และสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ สัมผัสเสียงและจังหวะ
-ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
-จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
-วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
-และเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
-วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
-บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
-มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
-มีความสนใจในความคิดรวบยอด มโนทัศน์ดีขึ้น
4.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
-สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
-ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
-นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
-จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
-รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
-จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
-มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
-มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี เข้าใจเหตุการณ์ เหตุ และผล ของสิ่งที่เกิดขึ้นได้

ความหมายของพัฒนาการ
🚩วอร์ทแมน และลอฟทัส (Wortrman and Loftus, 1992,) อธิบายว่า                                                
            พัฒนาการเป็นแบบแผนการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุกด้านของบุคคลนับตั้งแต่กำเนิดชีวิตจนถึงวัยชรา
🚩รักตวรรณ ศิริถาพร (2548) ได้กล่าวว่า 
            พัฒนาการเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เชื่อมโยงกันไปในทุก ๆ ด้านของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งตายซึ่งมีทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอน และสามารถทำนายได้
🚩กระบวนการของการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบระเบียบต่อเนื่องตามลำดับขั้นนำไปสู่การพัฒนาทางคุณภาพ พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเจริญเติบโต ควบคู่กับการพัฒนาทางคุณภาพ อารมณ์ สติปัญญาและสังคม

ลักษณะของพัฒนาการ
-การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
-พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (Cephalo-caudal direction)
-พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป(Proximo distal direction)
-พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
-อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกัน
-ความก้าวหน้าของพัฒนาการ
-พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กัน
-พัฒนาการส่วนต่างๆที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
-พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
-พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-บุคคลภายในครอบครัว 
       บุคคลภายในครอบครัว ประกอบด้วย พ่อแม่ พี่น้อง หรือญาติใกล้ชิดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
-บุคคลภายนอกครอบครัว 
       บุคคลภายนอกครอบครัว ประกอบด้วย ผู้ดูแลเด็ก ครู เพื่อนๆ ตลอดจนอิทธิพลของสังคมโดยผ่านสื่อต่าง ๆ

การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1.กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ
2.กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
3.กิจกรรมที่จัดควรมีความสมดุล
4.ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย
5.กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต

ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น
         -กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นตามมุมการเล่นหรือมุมประสบการณ์ที่จัดไว้ภายในห้องเรียน
         -กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่ช่วยเด็กให้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ
         -กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
         -กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหาใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ
         -กิจกรรมกลางแจ้ง กิจกรรมกลางแจ้งเป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้มีโอกาสออกไปนอกห้องเรียนเพื่อออกกำลังเคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกอย่างอิสระ
         -เกมการศึกษา เกมการศึกษาเป็นเกมการเล่นที่ช่วยพัฒนาสติปัญญามีกฎเกณฑ์กติกาง่าย ๆ        เด็กสามารถเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่มได้

การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย
ลักษณะพฤติกรรมการเล่นของเด็กปฐมวัย
• พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0 – 1 ปี 
เด็กวัยนี้ในช่วงแรกเกิด - 3เดือน จะยังไม่สนใจกับการเล่นมากนัก แต่เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาท
สัมผัสการมองเห็นและได้ยิน การแขวนของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟังได้สังเกตความเคลื่อนไหว
• พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1 - 2 ปี 
เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้างแม้จะไม่มั่นคงนัก แต่ก็ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่ง  
ไปยังอีกทีหนึ่งทำให้ได้เรียนรู้ถึงระยะทาง และฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆ
พฤติกรรการเล่นของเด็กวัย 2 - 4 ปี 
เด็กวัยนี้อยากรู้อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และทรงตัวได้ดี            
เพราะกล้ามเนื้อแขนขาแข็งแรงมากขึ้น ทำให้ชอบเล่นที่ออกแรงมากๆ
พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 4-6 ปี เด็กวัยนี้มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น    
 มีการเคลื่อนไหวของร่างกายคล่องแคล่วขึ้นชอบเล่นกลางแจ้งกับเครื่องเล่นสนาม

      ✦ ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องการออกมาสัมผัสกับโลกภายนอกมากขึ้น เริ่มมีสังคมนอกบ้าน             เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวด้วยความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และมักมีจินตนาการ ของตนเอง เด็กจะเรียนรู้ภาษาและคำพูดได้เร็ว ชอบเลียนแบบในขณะเดียวกันก็ต้องการอิสระ อยากพึ่งตนเอง และต้องการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็กปฐมวัย    จึงมีความสำคัญมาก

                   รูปภาพที่เกี่ยวข้อง




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


วันอังคาร ที่ 10 มกราคม พ.ศ.2560


           
                    อาจารย์ได้แจกcourse syllabusหรือแผนการสอนให้กับนักศึกษาและเปิดโอกาสให้นักศึกษาถามคำถามเกี่ยวกับวิชาสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย นอกจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำPre-test เพื่อจะได้ทราบถึงความรู้เดิมของตัวเราเองว่ามีมากน้อยแค่ไหน



                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เส้นคั้นผลไม้